3 กรกฎาคม 2016
กันดั้มศึกษา ตอนที่ 13
เพลงประกอบ (ซีรีส์ทางโทรทัศน์) พาร์ต 1
"ศาสตร์แห่ง กันดั้ม นั้นไซร้...ง่ายนิดเดียว!" (เหรอ?)
คำตอบอยู่ในคาบเรียนนี้ เพื่อนักบินเฟรชชี่โดยเฉพาะ!
โดย Ema Baba
ย้อนอ่านบทเรียนก่อนหน้าได้นะ
บทเรียนที่ 11 : โมบิลสูทสะเทินน้ำสะเทินบก
บทเรียนที่ 12 : คุณลุงนักบินโมบิลสูทผู้กล้าหาญ
และในบทความนี้ เรามาเรียนรู้เรื่องสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของซีรี่ส์กันดั้มกันดีกว่า
บทเรียนที่ 12 : คุณลุงนักบินโมบิลสูทผู้กล้าหาญ
และในบทความนี้ เรามาเรียนรู้เรื่องสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของซีรี่ส์กันดั้มกันดีกว่า
ซีรี่ส์กันดั้มนั้นมีอายุมากกว่า 30 ปีแล้ว ถือว่าเป็นหนึ่งในอนิเมชั่นที่เก่าแก่เรื่องหนึ่งของญี่ปุ่น (หรือโลกนี้เลยด้วย) เพียงแค่ฟังเพลงกันดั้มในแต่ละภาคก็แทบจะบ่งบอกธีมเพลงประจำยุคนั้นๆ ได้เลย ดังนั้นในบทเรียนที่ 13 นี้ เราจะมาว่ากันด้วยเรื่องเพลงประกอบอนิเมชั่นของซีรี่ส์กันดั้มกันเลย
บทที่ 1
อะไรคือเอกลักษณ์ของกันดั้ม?
ก็เพลงประกอบของกันดั้มไงล่ะ!
ถ้าจะพูดถึงเรื่องเพลงประกอบของกันดั้มแล้ว เราก็ขอเริ่มจากภาค Mobile Suit Gundam สุดคลาสสิกในปี 1979 กันก่อนเลย โดยเพลงเปิดของภาคนี้มีชื่อว่า "Tobe, Gundam"
อนิเมชั่นแนวหุ่นยนต์นั้นเรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นที่น่าจดจำไปแล้ว รวมไปถึงเพลงประกอบที่ฟังแล้วติดหูด้วย และในช่วงที่ Mobile Suit Gundam ฉายในปี 1979 เพลงประกอบจะมีท่อนที่ฟังง่ายๆ วนซ้ำไปมา รวมไปถึงชื่อกันดั้มให้ผู้ฟังสามารถฟังติดหูและร้องตามได้แม้จะเป็นเด็กก็ตาม
(เนื้อร้องที่ขึ้นโชว์ก็เขียนด้วยคำอ่านง่ายๆ เอาไว้สำหรับให้เด็กอ่านด้วย)
รูปแบบของเพลงประกอบนั้นเป็นไปตามแบบแผนของเพลงเปิดอนิเมชั่นยุคแรกๆเลยทีเดียว ก่อนอื่นก็โชว์ให้เห็นว่ากันดั้มและโมบิลสูทเครื่องอื่นๆ โชว์อะไรเจ๋งๆ จากนั้นก็โชว์ท่าทางเท่ๆ ของอามุโร่และผองเพื่อน, แสดงความรู้สึกของอามุโร่ผ่านทางสีหน้า และปิดท้ายด้วยท่าโพสเท่ๆ ของเหล่าตัวละครหลัก ซึ่งถือว่าเป็นไปตามแบบฉบับของเพลงเปิดอนิเมชั่นยุค 70s โดยแท้จริง
รูปแบบของเพลงประกอบนั้นเป็นไปตามแบบแผนของเพลงเปิดอนิเมชั่นยุคแรกๆเลยทีเดียว ก่อนอื่นก็โชว์ให้เห็นว่ากันดั้มและโมบิลสูทเครื่องอื่นๆ โชว์อะไรเจ๋งๆ จากนั้นก็โชว์ท่าทางเท่ๆ ของอามุโร่และผองเพื่อน, แสดงความรู้สึกของอามุโร่ผ่านทางสีหน้า และปิดท้ายด้วยท่าโพสเท่ๆ ของเหล่าตัวละครหลัก ซึ่งถือว่าเป็นไปตามแบบฉบับของเพลงเปิดอนิเมชั่นยุค 70s โดยแท้จริง
ส่วนเพลงจบก็จะโชว์อามุโร่ในท่าทางที่เคร่งขรึม และเป็นภาพภาพนิ่งไปตลอดเพลงจบอย่างเรียบง่าย ซึ่งก็เป็นรูปแบบเพลงจบที่นิยมใช้กันในช่วงปลายๆ ของอนิเมชั่นในยุค 70s ด้วยเช่นกัน
แต่อย่างไรก็ตาม เพลงประกอบของกันดั้มภาคนี้ก็ได้เป็นสัญลักษณ์ที่แฟนๆ เกมการ์ตูนแนวหุ่นยนต์ รู้จักกันดีไปแล้ว หากคุณรู้สึกร้อนในช่วงหน้าร้อน ก็ลองลุกขึ้นยืนแล้วตะโกนขึ้นมาว่า "จงลุกไหม้" ดูสิ
ต่อไปเราก็มาว่ากันถึงเพลงเปิดของ Mobile Suit Zeta Gundam ในปี 1985 กันบ้างครับซึ่งมีชือเพลงว่า Toki o Koete
เนื้อเพลงและภาพประกอบจะอยู่ในเทรนด์ยุค 80 ซึ่งจะมีความเป็นร็อคมากยิ่งขึ้น และให้ความรู้สึกเหมือนเด็กน้อยที่กำลังเติบโตขึ้น ด้วยรูปแบบและความต้องการทางศิลปะที่ร่วมสมัยทำให้กันดั้มสามารถสร้างกระแสจนฮิตติดลมบนได้ในเวลาไม่นาน โดยเพลงนี้ขับร้องโดย มามิ อายุคาวะ นักร้องผู้มีความสามารถสูงอันดับต้นๆ ของทางซันไรซ์โดยมีต้นแบบมาจากเพลง Better Days Are Coming ต้นฉบับก็เขียนขึ้นมาโดยนักดนตรีป๊อปชาวอเมริกันชื่อว่า นีล เซดากะ ซึ่งเป็นเพลงดังและสร้างชื่อให้กับเขาได้มากมายเลยล่ะ (หากไม่รู้จักเพลงนี้ล่ะก็ ลองถามคนรุ่นพ่อหรือรุ่นเดียวกับลุงดูก็ได้นะ) ส่วนเนื้อเพลงก็เขียนโดย โยชิยูกิ โทมิโนะ ผู้เป็นคนกำกับและถือเป็นบิดาของกันดั้มด้วย
เพลงประกอบอนิเมชั่นในสมัยนั้น มักจะเขียนออกมาในรูปแบบของเพลงกล่อมเด็ก ซึ่งโทมิโนะเองก็มีไอเดียสุดแจ่มในการสร้างเพลงที่มีตุณภาพสูงกว่าเพลงทั่วๆ ไป ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากจนได้เป็นเพลงระดับตำนานของวงการอนิเมชั่นในยุคนั้นเลย
เพลงประกอบอนิเมชั่นในสมัยนั้น มักจะเขียนออกมาในรูปแบบของเพลงกล่อมเด็ก ซึ่งโทมิโนะเองก็มีไอเดียสุดแจ่มในการสร้างเพลงที่มีตุณภาพสูงกว่าเพลงทั่วๆ ไป ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากจนได้เป็นเพลงระดับตำนานของวงการอนิเมชั่นในยุคนั้นเลย
ถัดมาก็เป็นยุคของปี 1986 ซึ่งเป็นปีของ Mobile Suit Gundam ZZ เพลงเปิด Anime ja Nai - Yume o Wasureta Furui Chikyujin yo. โดยเพลงนี้ ถือเป็นเพลงที่เป็นเอกลักษณ์ของกันดั้มที่สุดแต่งโดยโปรดิวเซอร์ชื่อดัง ยาสึชิ อากิโมโตะ ที่ตอนนั้นอายุแค่ 27 ปีเท่านั้น
ยิ่งไปกว่านั้น เขาได้ทำลายความซ้ำซากจำเจของเพลงยุคนั้นไปจนหมดสิ้น ด้วยเนื้อเพลงที่บอกว่า "นี่ไม่ใช่อนิเมะนะ!" ซึ่งเป็นเพลงเปิดที่สะท้อนแนวคิดของเพลงเปิดอนิเมใดๆ ที่เคยมีในยุคนั้นเลย
และเพลงเปิดนั้นก็ได้โชว์การต่อสู้ของกันดั้ม และก็มีภาพของการวิวัฒนาการจากลิงสู่มนุษย์จนไปเป็น อามุโร่ เรย์, คามิล บิดัน จนเป็นหน้าของพระเอกคนใหม่ในภาคนี้ จูโด้ อาชิตะ ทำนองของเพลงประกอบในภาคนี้ ได้ฮิโรซากิ เซริซาวะ (ซึ่งเคยทำงานร่วมกับ อากินะ นาคาโมริ และเช็คเกอร์) และเรียบเรียงโดย ชิโร่ ซากิสึ ก็ช่วยให้เพลงนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงปลายยุค 80
และเพลงเปิดนั้นก็ได้โชว์การต่อสู้ของกันดั้ม และก็มีภาพของการวิวัฒนาการจากลิงสู่มนุษย์จนไปเป็น อามุโร่ เรย์, คามิล บิดัน จนเป็นหน้าของพระเอกคนใหม่ในภาคนี้ จูโด้ อาชิตะ ทำนองของเพลงประกอบในภาคนี้ ได้ฮิโรซากิ เซริซาวะ (ซึ่งเคยทำงานร่วมกับ อากินะ นาคาโมริ และเช็คเกอร์) และเรียบเรียงโดย ชิโร่ ซากิสึ ก็ช่วยให้เพลงนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงปลายยุค 80
ข้ามมาที่ปี 1993 ซึ่งเป็นปีของภาค Mobile Suit Victory Gundam ซึ่งมีเพลงเปิดชื่อว่า Stand Up To the Victory ได้ โทโมฮิสะ คาวาโซเอะ มือเบสของวงร็อค Linberg มาแต่งเพลงให้ ซึ่งเป็นเพลงที่ฉีกกฏเดิมๆ ของเพลงอนิเมชั่นทั้งหมดทิ้งไป แถมไต่ชาร์ทขึ้นมาอยู่ในอันดับเพลงยอดฮิตได้อย่างรวดเร็ว
ด้วยทำนองเพลงแนวร็อคที่ทรงพลัง ใช้สแนร์เป็นตัวเร่งจังหวะ, ใช้โทนกีต้าร์หนักๆ ผสมผสานกับโทนพื้นฐาน, กับเนื้อเพลงที่ออกมาในเชิงปลุกใจที่ฟังแล้วรู้สึกฮึกเหิมและฟังสบายๆ ไปพร้อมกัน
ในทางกลับกัน เนื้อหาของภาคนี้ค่อนข้างหนักและซีเรียส แต่ธีมของเพลงนี้ก็เหมาะที่จะนำไปร้องในคาราโอเกะนะ เพราะเพลงของกันดั้มนั้นเป็นเพลงที่ไม่ว่าใครฟังก็ต้องรู้สึกฮึกเหิมขึ้นมาทั้งนั้น แม้ว่าคนๆนั้นจะไม่เคยดูกันดั้มมาก่อนเลยก็ตาม (ซึ่งก็เป็นส่วนช่วยดึงดูดให้เขาหันมาสนใจกันดั้มเหมือนกันนะ) เพราะเพลงที่ฟังติดหูนี้ไม่ใช่แค่เพลงกันดั้มธรรมดาๆ
ด้วยทำนองเพลงแนวร็อคที่ทรงพลัง ใช้สแนร์เป็นตัวเร่งจังหวะ, ใช้โทนกีต้าร์หนักๆ ผสมผสานกับโทนพื้นฐาน, กับเนื้อเพลงที่ออกมาในเชิงปลุกใจที่ฟังแล้วรู้สึกฮึกเหิมและฟังสบายๆ ไปพร้อมกัน
ในทางกลับกัน เนื้อหาของภาคนี้ค่อนข้างหนักและซีเรียส แต่ธีมของเพลงนี้ก็เหมาะที่จะนำไปร้องในคาราโอเกะนะ เพราะเพลงของกันดั้มนั้นเป็นเพลงที่ไม่ว่าใครฟังก็ต้องรู้สึกฮึกเหิมขึ้นมาทั้งนั้น แม้ว่าคนๆนั้นจะไม่เคยดูกันดั้มมาก่อนเลยก็ตาม (ซึ่งก็เป็นส่วนช่วยดึงดูดให้เขาหันมาสนใจกันดั้มเหมือนกันนะ) เพราะเพลงที่ฟังติดหูนี้ไม่ใช่แค่เพลงกันดั้มธรรมดาๆ
และสุดท้ายในบทเรียนนี้ มาว่ากันด้วยเรื่องเพลงประกอบของ Mobile Fighter G Gundam ในปี 1994 ซึ่งมีชื่อว่า Flying in the Sky
ตัวอนิเมชั่นของเพลงเปิดนี้ จะสื่อให้เห็นว่าการต่อสู้ศึกกันดัมไฟท์กำลังจะเริ่มขึ้นบนโลก(นีโอเจแปน) โดยเพลงเปิดนี้ก็มีกันดั้มมากมายหลายตัว ถูกนำมาขึ้นในเพลงเปิดนี้พร้อมๆกัน พร้อมกับฉากต่อสู้และศัตรูตัวหลักอย่างมาสเตอร์เอเชียที่ต้องการเน้นให้ผู้ชมเริ่มลุ้นตาม
ตัวอนิเมชั่นของเพลงเปิดนี้ จะสื่อให้เห็นว่าการต่อสู้ศึกกันดัมไฟท์กำลังจะเริ่มขึ้นบนโลก(นีโอเจแปน) โดยเพลงเปิดนี้ก็มีกันดั้มมากมายหลายตัว ถูกนำมาขึ้นในเพลงเปิดนี้พร้อมๆกัน พร้อมกับฉากต่อสู้และศัตรูตัวหลักอย่างมาสเตอร์เอเชียที่ต้องการเน้นให้ผู้ชมเริ่มลุ้นตาม
เพลงนี้ถูกแต่งและเรียบเรียงขึ้นมาโดยนักร้องและนักแต่งเพลงชื่อดัง Yoshifumi Ushima (ซึ่งภายหลังได้รวมตัวกับ โทโมฮิสะ คาวาโซเอะ ตั้งวง "TOPGUN" ขึ้นมา)
และเนื่องจากทำนองที่ฟังสบายพอๆกับ Stand Up To the Victory ทำให้ท่อนภาษาอังกฤษของเพลงนี้ติดหูผู้คนมากมายซึ่งแฟนๆรุ่นนั้นก็ฮัมเพลงนี้ได้แทบทุกคนเลยด้วยซ้ำ (ซึ่งก็เป็นท่อนที่ให้อารมณ์ของการเป็น G Gundam ดีนะ)
ในภาค G Gundam นี้มีนักสู้จากประเทศต่างๆ มากมายเข้ามาประลองฝีมือเพื่อชิงความเป็นหนึ่งของโลก ซึ่งเนื้อหาของเพลงก็ดึงในส่วนนี้สื่อออกมาในเพลงด้วยการกล่าวถึง "พลังไม่มีที่สิ้นสุด" ได้อย่างสมบูรณ์ กระแสตอบรับของเพลงนี้ก็เป็นไปในทางทีดีเยี่ยมอีกด้วย
เอาล่ะ พอแค่นี้ก่อนดีกว่า เอาไว้มาพบกับบทเรียนที่เกี่ยวกับเพลงต่อกันในคาบหน้านะ ทีนี้เชื่อหรือยังล่ะ ว่ากันดั้มมันสุดยอดขนาดไหน!?
[
ประวัติผู้เขียน]
Ema Baba
นักเขียนบทจอมป่วน
ที่พยายามเพิ่มพูนความรู้อยู่ทุกวันเพื่อสอนให้คุณรู้จักกับความสนุกของกันดั้ม
Ema Baba
นักเขียนบทจอมป่วน
ที่พยายามเพิ่มพูนความรู้อยู่ทุกวันเพื่อสอนให้คุณรู้จักกับความสนุกของกันดั้ม
อันดับ
โพสต์แนะนำ
อนุญาต Cookie เพื่อดูหัวข้อแนะนำสำหรับคุณ