8 มกราคม 2017
กันดั้มศึกษา ตอนที่ 17
SD กันดั้ม พาร์ต 1
บทเรียนที่ 14 : เพลงประกอบของโมบิลสูทกันดั้ม ตอนที่ 2
บทเรียนที่ 15 : วิถีแห่งกันพลา ตอนที่ 1
บทเรียนที่ 16 : วิถีแห่งกันพลา ตอนที่ 2
มีหลายอย่างที่เรานึกออกเมื่อพูดถึงกันดั้ม SD Gundam ก็เป็นหนึ่งในนั้น และยังมีประวัติที่ยาวนานพอๆ กับซีรีย์ต้นกำเนิดของมันเลยทีเดียว
รวมถึงกันพลาซีรีย์ "BB Senshi" ที่ออกมาจะครบ 30 ปี ในปีนี้แล้ว (2017) สัปดาห์นี้ เราจะมาพูดถึง ซีรีย์ต่างๆ ของ SD Gundam กัน
บทที่ 1
อะไรทำให้กันดั้ม ดูเป็นกันดั้ม? มีความหลากหลายยิ่งกว่าซีรีย์กันดั้มปกติเสียอีกนะ
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจคำว่า SD ใน SD Gundam กันก่อน มันย่อมาจาก “Super – Deformed” ที่หมายถึงการลดทอนรายละเอียดและรูปทรง(ในระดับซูเปอร์! คือลดทอนหนักมาก) ดังนั้น SD Gundam ก็คือ กันดั้มที่ลดทอนรูปทรงให้มีสัดส่วนและขนาดของชิ้นส่วนบางอย่างให้เล็กหรือใหญ่กว่าปกติไปจนถึง การทำให้บางส่วนหดสั้นลงนั่นเอง
เราจึงสังเกตเห็นว่า SD Gundam เหล่านี้จะมีรูปทรงป้อมๆ เตี้ยๆ แขนขาหดสั้น ดูน่ารักน่าชังกันทุกตัว โดยสัดส่วนปกติของรูปทรงโดยทั่วไปแล้ว ความสูงของหุ่นก็จะมีขนาดเท่ากับเอาหัวของมันเองมาวางซ้อนกัน 2 หรือ 3 หัวเท่านั้นเอง
นอกจากนี้พวกมันไม่ได้มีสถานะเป็นโมบิลสูทที่รอนักบินอย่าง ชาร์ หรือ อามุโร่ มาขับอีกต่อไป แต่มีชีวิตจิตใจเหมือนอย่างมนุษย์ปกติ และนั่นคือความแตกต่างอีกข้อหนึ่งระหว่าง SD Gundam และ Gundam ปกติ
*ภาพจากซีรีย์สะสม "Fukkoku! Gashapon Senshi SD Gundam World"
จุดเริ่มต้นของ SD Gundam นั้นมาจากซีรีย์ "Super Deformed Gundam World" ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ตุ๊กตุ่นยางกาชาปอง เมื่อปี 1985 และสร้างความนิยมอย่างล้นหลามด้วยความน่ารักน่าสะสมของมัน
ในคอนเซปแรกเริ่มน่าจะเกิดจากการนำเอา MS ในซีรีย์ต่างๆ ที่ได้รับความนิยมในช่วงนั้นมาดีไซน์ใหม่เป็น SD ขายในราคา 100-200 เยน ต่อการบิด 1 ครั้ง พวกมันมีตั้งสี ส้ม, ฟ้า, สีเนื้อ, สีเขียว และสีพิเศษ ไปจนถึงแบบลิมิเต็ดที่ทำจากไดแคสท์
และด้วยความที่มีรูอยู่ใต้ฐานของพวกมันเอาไว้เสียบกับดินสอได้ พวกเด็กๆ ชั้นประถมก็ยิ่งชอบใจกันใหญ่
การนำไปประยุต์ จากอนิเมเป็นมังงะ จากของเล่นเป็นโมเดล, การ์ดเกม, วิดีโอเกม และอื่นอีกมากมายในช่วงปี 90 นั่นทำให้ไลน์นี้ โด่งดังจนกลบซีรีย์ปกติไปเลยทีเดียว
บทที่ 2
โมเดลที่ใช้แมคคานิคแบบเดียวกับเวอร์ชั่นสมส่วน แต่น่ารักขึ้นหลายส่วน
แน่นอนว่ากันพลาเวอร์ชั่น SD ประกอบง่ายกว่า และทำมาเพื่อมือใหม่โดยเฉพาะ มันถูกผลิตออกมาครั้งแรกเมื่อปี 1987 และยังคงเป็นที่นิยมอยู่จนถึงปัจจุบันในชื่อไลน์ BB Senshi จะสังเกตได้ว่า ซีรีย์นี้ไม่เคยหยุดที่จะพัฒนาอะไรใหม่ๆ ที่เป็นออริจินอลของซีรีย์เลย ไม่ว่าจะเป็น “Gundaman” หรือ “Zakun” แต่อย่างไรก็ดี เมื่อ Mobile Suit Gundam : Char Counter Attack ออกฉายในปี 1988 ดีไซน์ของโมบิลสูทต่างๆ กลับออกแบบไว้เผื่อสำหรับการนำไปทำเป็นซีรีย์ BB Senshi ด้วย เรียกได้ว่า ดังจนต้องคิดเผื่อเลยทีเดียว
นอกจากนี้ยังจัดได้ว่าเป็นไลน์ที่ออกมาไม่ถี่มาก และมีการปรับเปลี่ยนไปจากของเดิมเยอะมาก
ยังไงก็ตามชื่อซีรีย์ "BB" นี้มีที่มาจาก ลูกกระสุน BB (ย่อมาจาก Ball Bullet) ที่ใช้ในปืนแอร์ซอฟท์นั่นเอง เพราะโมเดลรุ่นแรกสามารถยิงกระสุน BB (พลาสติก)ได้ แต่ยังไงก็ตาม ความรุนแรงในการยิงกระสุนก็ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด และนับจากนั้น ซีรีย์นี้ก็ปรับปรุงฟีเจอร์ของมันมาเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการประกอบร่าง หรือบางรุ่นก็สามารถแปลงร่างได้อีกด้วย
บทที่ 3
อะไรคือสิ่งที่เป็น SD Gundam? ซีรีย์ที่มีแนวทางของตัวเองอย่างโดดเด่น แยกออกไปจากซีรีย์กันดั้มออริจินัล
*ภาพจาก เซ็ทการ์ดเกม Carddas ผลิตใหม่
คราวนี้มาถึงครึ่งที่ 2 ขอนำท่านมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับแขนงต่างๆ ของซีรีย์ ให้มากขึ้นอีกหน่อย
ตอนแรกเรามี “SD Gundam World”, SD ธรรมดารวมไปถึง BB Senshi และ Mobile Suit SD Gundam ที่อ้างอิงจากภาคต่างๆ ใน ทีวีซีรีย์
บางทีอาจเป็นเพราะด้วยตัวมันเองแล้ว ดูน่าจะเป็นแนวล้อเลียนออริจินอลเสียมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นดีไซน์ที่ป้อมๆ ไม่เอาจริงเอาจัง หรือแม้แต่พลอทที่ถูกนำไปใช้กับคาแรคเตอร์ แต่ก็ยังมีบางแง่มุมที่ดูจริงจัง มีมิติอยู่ ดังจะพบได้ในซีรีย์ SDGundam R และ SD Gundam Bind
เกมแนววางแผนการรบอย่าง SD Gundam G Generation ได้ทำให้ภาพจำเหล่านั้นค่อยๆ หายไป และเป็นหนึ่งในซีรีย์เกมที่อยู่ยงคงกระพันมาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ก็ยังมีซีรีย์ SD Sengokuden หรือ “Musha Gundam” ที่มีตัวละครเป็น กันดั้มสวมเกราะนักรบซามูไรญี่ปุ่น อ้างอิงจากประวัติศาสตร์ช่วงสงครามกลางเมืองใน ศตวรรษที่ 16 (และยังมีซีรีย์ย่อยเป็นยุคที่ใช้ตีมเป็นจักราศีของญี่ปุ่นด้วย) เป็นโมบิลสูทที่ดูเป็นสิ่งมีชีวิตมีเลือดเนื้อ มากกว่าที่จะเป็นหุ่นยนต์
พลาโม เคียวชิโร่ เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร Comic Bonbon ในเดือนกรกฎาฯ ปี 1985 อาจเป็นจุดกำเนิดไอเดียของซีรีย์ Musha Gundam แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้การครอสกันระหว่างซีรีย์ต่างๆ ต้องยกเลิกไป แถมยังทำให้มันเป็นที่นิยมเพิ่มเข้าไปอีก
ขณะที่แกร่วอยู่กับพลอทออริจินอลเดิมๆ มาระยะหนึ่ง ในช่วงปี 90 ซีรีย์นี้ก็ได้นำเสนอเนื้อหาตามประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นอย่างเต็มที่ ซึ่งในตอนนี้ Gundam จะมีพื้นฐานมาจากบุคคลในประวัติศาสตร์ เช่น ซานาดะ ยูคิมุระ, ดาเตะ มาซามุเนะ, โอดะ โนบุนากะ, โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ, โตกุกาวา อิเอยาสุ และอื่นๆ อีกมาก
*ภาพจาก เซ็ทการ์ดเกม Carddas ผลิตใหม่
จากตะวันออกสู่ตะวันตก เรายังมีซีรีย์ SD Gundam Gaiden หรือที่รู้จักกันในชื่อ Knight Gundam การ์ดเกม RPG แนวแฟนตาซี
มีตัวละครเป็นกันดั้มที่มีชีวิตจิตใจเหมือนคนปกติ ซึ่งในโลกของ Knight Gundam นี้จะเต็มไปด้วยเรื่องเล่าขานของเหล่าฮีโร่เกี่ยวกับความกล้าหาญของพวกเขา
เริ่มต้นที่ “Saddarc World” (ลองสะกดย้อนหลังดู) เราจะพบว่า SD Gundam Gaiden นี้ หมุนรอบๆ ดีไซน์ต่างๆ ที่การ์ดเกม Carddas มีนั่นเอง
*ภาพจาก เซ็ทการ์ดเกม Carddas ผลิตใหม่
ความจริงแล้วโลกของ SD Commando Senki ถูกวางไว้ว่าเป็นโลกอนาคตอันไกลโพ้นของ Musha Gundam และ Knight Gundam นั่นเอง
ในขณะที่ Captain Gundam ก็ปรากฏตัวในซีรีย์ SD Gundam Force ด้วยเช่นกัน
SD Gundam Sangokuden Brave Battle Warriors ออกอากาศทางทีวีเมื่อปี 2010 แต่ของเล่นจากอนิเมกลับเป็น SD Gundam ไลน์ปกติ
แม้ว่าจะมีชิ้นส่วนน้อยกว่าไลน์ Musha Gundam แต่มันประกอบง่าย จัดท่าโพสง่าย เท้าก็ยืนมั่นคงดี จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ชุดคิทที่มีขนาดใหญ่ที่สุด, ราคาหลักพันเยน และมีวางจำหน่ายไปทั่วโลก ซีรีย์นี้จะยังคงเป็นไลน์ที่ขายดิบขายดีมาตลอด
และนี่คือจุดเริ่มต้นของ SD Gundam และ BB Senshi แต่ยังไม่จบเท่านี้ พบกันใหม่ในตอนที่ 18 ที่จะลงลึกไป SD ชนิดอื่นๆ อีก เตรียมเล็คเชอร์ให้ดีล่ะ!
[ประวัติผู้เขียน]
Ema Baba
นักเขียนบทจอมป่วน
ที่พยายามเพิ่มพูนความรู้อยู่ทุกวันเพื่อสอนให้คุณรู้จักกับความสนุกของกันดั้ม
อันดับ
โพสต์แนะนำ
อนุญาต Cookie เพื่อดูหัวข้อแนะนำสำหรับคุณ