2 พฤษภาคม 2016
กันดั้มศึกษา ตอนที่ 04
"โมบิลสูท" คืออะไร
"ศาสตร์แห่ง กันดั้ม นั้นไซร้...ง่ายนิดเดียว!" (เหรอ?)
คำตอบอยู่ในคาบเรียนนี้ เพื่อนักบินเฟรชชี่โดยเฉพาะ!
ใน ตอนที่ 1 เราได้เรียนรู้ถึงหน้าตากันดั้มและสีไปแล้ว, ตอนที่ 2 ก็ได้แนะนำชายสวมหน้ากากกับฮาโล่, ตอนที่ 3 เราก็ว่ากันด้วยเรื่องของปีศักราช Universal, แต่วันนี้บทเรียนของเราจะเป็นหนึ่งในเรื่องที่จะขาดไปเสียไม่ได้เลยในโลกของกันดั้ม
บทที่ 1
อะไรทำให้กันดั้มดูเป็นกันดั้ม? โมบิลสูท, ออกปฏิบัติการ!
ก่อนอื่นสำหรับใครก็ตามที่คิดว่า กันดั้มคือหุ่นยนต์(robot) แต่จริงๆ แล้วกันดั้มคือ “โมบิลสูท” ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นยุทธภัณฑ์ที่มีอยู่ในซีรีย์กันดั้มทั้งหมด
คุณอาจคิดว่ามันคือหุ่นยนต์ตัวใหญ่ที่สามารถขึ้นไปขี่ได้ แต่นิยามของ “โมบิลสูท” คือ ยานพาหนะ ที่ทั่วไปจะมีรูปทรงคล้ายมนุษย์ (Humanoid) และมี สองขา โดยมีนักบิน (Pilot) เป็นผู้ขับ
บทที่ 2
อะไรทำให้กันดั้มดูเป็นกันดั้ม? ยานพาหนะที่ไม่ใช่โมบิลสูทก็มีอยู่นะ!
นี่แหละที่เป็นเนื้อแท้ของปัญหา แน่นอนว่ากันดั้มที่เป็นจุดสนใจหลักของทุกตอนนั้นเป็นโมบิลสูท แต่ใช่ว่าทุกอย่างในหนังนั้นจะเป็นโมบิลสูทกันไปหมด
ลองดูภาพของหุ่นรบที่ปรากฏอยู่ในซีรีย์กันดั้มหลายๆ ซีรีย์ คุณสามารถแบ่งมันออกเป็น 2 ประเภทได้ไหม? ได้แน่นอน!
ประเภทที่ 1 “โมบิลสูท”
อย่างที่ได้กล่าวไว้ พวกมันมีรูปร่างใกล้เคียงกับมนุษย์ ซึ่ง “กันดั้ม” และ “ซาคุ” ก็ยังคงเป็นตัวอย่างที่ดีอยู่ มันสูงประมาณ 18 เมตร หรือ 60 ฟุต คิดเป็น สิบเท่าของความสูงทั่วไปของมนุษย์
ประเภทที่ 2 “โมบิล อาร์เมอร์” (mobile armors)
บอกได้ไหมว่าแตกต่างกันยังไง? โมบิลอาร์เมอร์ มีขนาดใหญ่มากไงล่ะ! เหมือนยักษ์ตัวเขื่อง! และพวกมันหน้าตาเหมือนชุดเกราะ!(เอ่อ, อย่างหลังเป็นความเห็นของผู้เขียนเอง)
ส่วนข้อแตกต่างอื่นๆ ในโมบิลอาร์เมอร์ ก็คือพวกมันส่วนใหญ่ไม่ได้มีรูปทรงคล้ายมนุษย์(humanoid)
พวกมันหุ้มโมบิลสูทไว้ ด้วยความสูง 25 เมตร หรือ 80 ฟุต ถ้าโมบิลสูทนั้นไม่ใหญ่จนเกินไป
( ไซโคกันดั้ม* [Psyco Gundam] ตัวนี้ไม่ใช่โมบิลสูท ที่สูงราว 40 เมตร [130 ฟุต] ซึ่งใหญ่โตมโหฬารมาก)
แต่ก็ยังมีโมบิลสูทที่แตกต่างไปจากประเภทอื่นๆ ด้วยเหมือนกัน
“โมบิลดอล” (Mobile Doll) ถูกควบคุมจากระยะไกล มากกว่าจะเป็นการขับโดยนักบิน
โดยทั่วไปแล้วพวกมันถูกใช้เป็น โมบิลสูทไร้คนขับ
“โมบิลสแตนดาร์ด” (Mobile Standards) สร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรมมากกว่าใช้ทำสงคราม แล้วไหนจะมี “โมบิลฮอร์ส” (Mobile horse) อีก เป็นโพรงกระต่ายที่ลึกมากจริงๆ
อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณพยายามจำแนกระหว่างโมบิลสูท กับ โมบิลอาเมอร์แล้วล่ะก็ ลองดูที่
○ มันใหญ่แค่ไหน?
และ
○ มันดูเหมือนมนุษย์หรือเปล่า?
ซึ่งก็เป็นข้อสังเกตที่ดี...แต่เอาจริงๆ นะ
มันก็ยังไม่เคลียร์อีกนั่นแหละ
(ทุกคน : อ่าว? ไหงงั้น?) ถ้าจะให้ถูกต้องชัดเจนกันจริงๆ กันดั้มแต่ละเครื่องก็จะต้องถูกจำแนกโดยลักษณะเฉพาะของมันเลยทีเดียว
เมื่อโมบิลสูท และโมบิลอาร์เมอร์ ถูกกำหนดให้เป็นยุทธภัณฑ์ หรือยานพาหนะ เราก็อาจต้องจำแนกไปตามความจุเครื่องยนต์(หน่วยเป็น cc) และขนาดของมันหรือเปล่า? แล้วต้องมี MADL* สำหรับโมบิลอาร์เมอร์ไหม?
เพราะจริงๆ แล้ว กันดั้มเป็นอนิเมหุ่นยนต์เรื่องแรก ที่มองหุ่นยนต์เป็นเครื่องจักรที่ผลิตคราวละมากๆ เหมือน เครื่องบินรบ หรือยานยนต์ มากกว่าที่จะยกมันให้เป็นหุ่นยนต์ตัวเอก หรือดาวเด่นคนหนึ่งในเรื่องบทที่ 3
อะไรทำให้กันดั้มดูเป็นกันดั้ม? โมบิลสูทแต่ละเครื่องก็มีความน่าสนใจในตัวเองนะ!
แล้วอะไรทำให้โมบิลสูทกลายเป็นที่นิยม? มันน่าสนใจตรงไหนกัน? นี่เป็นประเด็นที่ลึกมากทีเดียว ซึ่งแต่ละคนก็จะมีคำตอบของตัวเองอยู่แล้ว โดยเฉพาะในส่วนของซีรีย์ฉายทางทีวี เรตติ้งของโมบิลสูทแต่ละเครื่องก็จะเปลี่ยนไปมาตั้งแต่เริ่มฉายยันจบซีรีย์เลยล่ะ
ตัวละครที่เป็น โมบิลสูท (เรียกย่อๆ ว่า MS) นั้นได้รับความนิยมเสมอมา ตั้งแต่ก่อนที่ซีรีย์จะออกอากาศด้วยซ้ำ (ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแย่อะไร) แต่ก็ยังมีอีกหลายๆ เครื่องที่อาจจะถูกเมินในตอนแรกแล้วมาได้รับความนิยมทีหลังเหมือนกัน
อย่างเมื่อเร็วๆ นี้* เป็นเรื่องน่ามหัศจรรย์มากที่ได้รู้ว่า ซีรีย์ โมบิลสูท กันดั้มซีด (Gundam SEED) ได้รับความนิยมมากขึ้นกว่าที่เคยจากบรรดาแฟนเก่า ที่กลับมาดูมันอีกครั้งเพื่อรำลึกความหลัง และแฟนใหม่ที่เพิ่งค้นพบว่ามันสนุกแค่ไหน
เอาล่ะ นี่คือทั้งหมดสำหรับสัปดาห์นี้ สัปดาห์ต่อไปเราจะย้อนกลับไปพูดถึงเรื่องอื่นๆ ที่ทำให้กันดั้มเป็นกันดั้มมาจนทุกวันนี้!
* “ไซโคกันดั้ม” (Psyco Gundam) คือโมบิลอาร์เมอร์ต้นแบบ ที่สามารถแปลงเป็นยานรบได้ พัฒนาขึ้นเพื่อนักบินที่เป็นนิวไทป์โดยเฉพาะ
* MADL (Multifunction Advanced Data Link) เป็นระบบการรับ-ส่งข้อมูลอเนกประสงค์ที่ใช้ในการทหาร สามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ที่ต่างชนิดกันได้ด้วยคลื่นความถี่เดียว (KU Band) เช่นการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องบินรบ, เครื่องบินขนส่ง, จรวดนำวิถี และอากาศยานไร้คนขับ พร้อมกันได้ในความถี่เดียว ทำให้ยากต่อการถูกแทรกแซงเพราะมีระบบความปลอดภัยที่ตรวจสอบได้ง่ายและมีความถี่เฉพาะตัว
* บทความถูกเขียนขึ้นเมื่อวันที่ 30 เมษา 2556 (ผู้แปล)[ประวัติผู้เขียน]
Ema Baba
นักเขียนบทจอมป่วน
ที่พยายามเพิ่มพูนความรู้อยู่ทุกวันเพื่อสอนให้คุณรู้จักกับความสนุกของกันดั้ม
อันดับ
โพสต์แนะนำ
อนุญาต Cookie เพื่อดูหัวข้อแนะนำสำหรับคุณ